logo jittagornp.me

การทำลายเซ็นต์ดิจิตอล (Digital Signature) อย่างง่าย ด้วยภาษา Java

ความเข้าใจผิด

ทฤษฎี

จากบทความ

เราสามารถนำทั้ง 2 บทความมาเป็นพื้นฐานที่ใช้ในการเขียนโปรแกรมสำหรับการทำลายเซ็นต์ดิจิตอล (Digital Signature) อย่างง่าย ได้ดังนี้

1. เตรียม Data ต้นทางที่จะเอามา Sign

ในที่นี้จะกำหนดอย่างง่าย ๆ เป็น

final String document = "Hello World";
final byte[] documentBytes = document.getBytes();

2. เตรียม Private Key / Public Key ที่จะเอาไว้ Sign และ Verify

KeyPair ในที่นี้จะใช้การ Generate ด้วย Algorithm EC (Elliptic Curve Algorithm) โดยกำหนด Curve name เป็น secp256r1

private static KeyPair getKeyPair() throws NoSuchAlgorithmException, InvalidAlgorithmParameterException {
    final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("EC");
    keyPairGenerator.initialize(new ECGenParameterSpec("secp256r1"), new SecureRandom());
    return keyPairGenerator.generateKeyPair();
}

หมายเหตุ

EC Curve name สามารถดูได้จาก

3. กำหนด Signature Algorithm ว่าจะ Sign / Verify ด้วย Algorithm ใด

ในที่นี้ใช้ SHA256withECDSA คือ ใช้ Hash Function แบบ SHA256 และ Verify ด้วย Public Key แบบ ECDSA (Elliptic Curve Digital Signature Algorithm)

private static Signature getSignature() throws NoSuchAlgorithmException {
    return Signature.getInstance("SHA256withECDSA");
}

4. ทำการ Sign

โดยใช้ Factors จากข้อ 1 - 3

//1. Define Data
final String document = "Hello World";
final byte[] documentBytes = document.getBytes();
//====================================================

//2. Define KeyPair
final KeyPair keyPair = getKeyPair();
final PublicKey publicKey = keyPair.getPublic();
final PrivateKey privateKey = keyPair.getPrivate();

//3. Define Signature
final Signature signature = getSignature();
//====================================================

//4. Sign Data
signature.initSign(privateKey);
signature.update(documentBytes);
final byte[] signatureBytes = signature.sign();
//====================================================

หมายเหตุ

การ Sign เราจะ Sign ด้วย Private Key ของผู้ส่ง (เจ้าของ Data)

ผลลัพธ์ เราจะได้ signatureBytes หรือ ลายเซ็นต์ดิจิตอล (Digital Signature) มา

ซึ่ง Byte นี้ คือ Byte ที่ถูก Sign มาแล้ว เราสามารถนำไป Save เก็บไว้ เพื่อที่จะได้นำมา Verify ในภายหลังได้

5. ทำการ Verify Signature เทียบกับ Data

เพื่อเช็คความถูกต้องของ Data ว่ามีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงไปหรือไม่ จาก Signature ที่เคย Sign ไว้

//5. Verify Data 
signature.initVerify(publicKey);

//Compare Data and Signature
signature.update(documentBytes);
final boolean isValid = signature.verify(signatureBytes);
if (isValid) {
    System.out.println("Signature is valid");
} else {
    System.out.println("Signature is not valid");
}

หมายเหตุ

การ Verify เราจะ Verify ด้วย Public Key ของผู้ส่ง (เจ้าของ Data)

Code เต็ม ๆ

package me.jittagornp.example.digitalsignature;

import java.security.InvalidAlgorithmParameterException;
import java.security.InvalidKeyException;
import java.security.KeyPair;
import java.security.KeyPairGenerator;
import java.security.NoSuchAlgorithmException;
import java.security.PrivateKey;
import java.security.PublicKey;
import java.security.SecureRandom;
import java.security.Signature;
import java.security.SignatureException;
import java.security.spec.ECGenParameterSpec;

/**
 * @author jitta
 */
public class DigitalSignatureExample {

    private static KeyPair getKeyPair() throws NoSuchAlgorithmException, InvalidAlgorithmParameterException {
        final KeyPairGenerator keyPairGenerator = KeyPairGenerator.getInstance("EC");
        keyPairGenerator.initialize(new ECGenParameterSpec("secp256r1"), new SecureRandom());
        return keyPairGenerator.generateKeyPair();
    }

    private static Signature getSignature() throws NoSuchAlgorithmException {
        return Signature.getInstance("SHA256withECDSA");
    }

    public static void main(String[] args) throws NoSuchAlgorithmException, InvalidKeyException, SignatureException, InvalidAlgorithmParameterException {

        //1. Define Data
        final String document = "Hello World";
        final byte[] documentBytes = document.getBytes();
        //====================================================

        //2. Define KeyPair
        final KeyPair keyPair = getKeyPair();
        final PublicKey publicKey = keyPair.getPublic();
        final PrivateKey privateKey = keyPair.getPrivate();

        //3. Define Signature
        final Signature signature = getSignature();
        //====================================================

        //4. Sign Data
        signature.initSign(privateKey);
        signature.update(documentBytes);
        final byte[] signatureBytes = signature.sign();
        //====================================================

        //5. Verify Data
        signature.initVerify(publicKey);

        //Compare Data and Signature
        signature.update(documentBytes);
        final boolean isValid = signature.verify(signatureBytes);
        if (isValid) {
            System.out.println("Signature is valid");
        } else {
            System.out.println("Signature is not valid");
        }

    }

}

Run

เพิ่มเติม

การใช้งานจริง ๆ จะซับซ้อนกว่านี้ ตรงที่ Public Key ที่ได้มา ควรที่จะได้มาจาก X.509 Certificate เพื่อรับรองว่า Public Key นั้นเป็นของเจ้าของคนที่เราเอามา Verify จริง ๆ

หมายเหตุ

X.509 Certificate สามารถอ่านได้จาก

นอกจากนั้น ยังมีเรื่องของการ Set Time Stamp จาก TSA (Time Stamp Authority) เพื่อเอาไว้ รับรองเรื่องเวลาที่ใช้ในการ Sign อีกด้วย

Source Code

Reference

สำหรับเพื่อน ๆ คนไหน ที่ชื่นชอบบทความ และอยากจะสนุนสนันค่ากาแฟเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถคลิกที่ปุ่มนี้เพื่อไปยังหน้า Buy me a coffee ได้ครับ

โฆษณา

iWallet เป็น Bot หรือโปรแกรมอัตโนมัติ ที่เอาไว้ซื้อ/ขาย แลกเปลี่ยนเหรียญ (Digital Token) บน DeFi (Decentralized Finance) โดยใช้ Concept Rebalancing แบบ 50:50

Features
  • รองรับหลาย Wallets
  • รองรับหลาย Networks (ตอนนี้รองรับ BSC, Polygon, Bitkub)
  • รองรับ Token ประเภท ERC-20 ทุกตัว
  • ทำ Rebalancing อัตโนมัติ (50:50)
  • ทำ Manual Reblanacing ได้
  • เติม Gas อัตโนมัติ (ถ้าเห็นว่า Gas ใกล้หมด)
  • PWA (Progressive Web App) สามารถติดตั้งลงบน Desktop และ Mobile ได้
  • รองรับ Two-Factor Authentication (2FA), Google Authenticator
  • ดูประวัติการทำ Rebalancing (Reblancing History)
  • ดูประวัติการโอน (Transfer History)
  • รู้กำไร และขาดทุน โดยดูจากต้นทุนที่โอนเข้า/ออก iWallet (บอกเป็น %)
  • มีหน้าจอสำหรับโอน (Transfer) Token
  • มีแจ้งเตือนทาง LINE (Notification) ถ้า Bot ทำ Rebalance หรือมีการโอนเข้า/ออก iWallet
  • Export ประวัติการทำ Rebalancing ในรูปแบบ Excel
  • อื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาต่อ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://iwallet.jittagornp.me
profile photo
จิตกร พิทักษ์เมธากุล fire fire fire
Software Developer พ่อลูกอ่อน