logo jittagornp.me

สรุปสั้น ๆ เรื่องเขตเวลา (Time Zone) และไขข้อสงสัยว่าทำไมเวลาประเทศไทยถึงเป็น UTC+7

Image from https://freepng.pictures/download/earth-planet-globe-world-3/

โลกนี้เป็นทรงกลม

เพราะฉะนั้นวันเวลาที่เกิดขึ้นในแต่ละประเทศ แต่ละพื้นที่ทั่วโลก จะไม่เท่ากัน

เลยมีการกำหนดเขตเวลา (Time Zone) มาตรฐานขึ้นมา เพื่อให้คนทั่วโลก ระบบต่าง ๆ ทั่วโลกเข้าใจตรงกันว่า ถ้าพูดถึงวัน/เวลาเท่านี้ในประเทศนึง จะมีค่าเท่ากับเท่าไหร่ในประเทศอื่น ๆ

ทบทวนเส้นลองจิจูด (Longitude)

Image from https://cdn.britannica.com/06/64906-050-675D6688/meridians-Facts-Lines-of-Longitude-angles-halves.jpg

การกำหนดเขตเวลาจะใช้เส้นลองจิจูด หรือเส้นแนวตั้ง ช่วยกำหนดเป็นหลัก

ทั่วโลกเรามีเส้นลองจิจูด 360 เส้น (360 องศา)

ถ้าผ่าตรงกลางโลก

  • จะอยู่ซีกซ้าย 180 เส้น (-180 องศา)
  • และซีกขวาอีก 180 เส้น (+180 องศา)

โดยเราถือว่าตรงกลางของโลก หรือลองจิจูดที่ 0 ผ่ากลาง กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร (ประเทศอังกฤษ)

เขตเวลา (Time Zone)

กลับมาที่เขตเวลา

พอเราเข้าใจเรื่องลองจิจูดแล้ว
ทีนี้เค้าก็ใช้ประโยชน์จากลองจิจูด ในการช่วยกำหนดเรื่องเขตเวลา คือ

เค้ากำหนดให้ กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร คือเวลาที่ 0
ซึ่ง เราอาจจะคุ้น ๆ กันกับคำว่า UTC (Universal Time Coordinated) หรือ UTC 0

จากนั้น เค้าก็กำหนดอีกว่า
ให้ทุก ๆ ลองจิจูดที่เพิ่มขึ้น 15 องศา หรือ 15 เส้น (ทั้งซ้าย และขวา) จากลองจิจูดที่ 0
จะถูกบวกหรือลบเวลาเพิ่มเข้าไปครั้งละ 1 ชั่วโมง

วิธีคิด

ทุก ๆ 15 องศาเวลาจะเปลี่ยนไป 1 ชั่วโมง เพราะ
โลกเราเป็นทรงกลม
โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ เท่ากับ 1 วัน คือ 24 ชั่วโมง
การที่โลกหมุนรอบตัวเอง 1 รอบ มีค่าเท่ากับ 360 องศา 

เลยเป็นที่มาว่า

360 องศา / 24 ชั่วโมง = 15 องศา/ชั่วโมง นั่นเอง

ทำให้ในโลกนี้มีเขตเวลาเป็น

  • UTC (กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร)
  • UTC-1 ไปจนถึง UTC-12 และ
  • UTC+1 ไปจนถึง UTC+14

โดยเขตเวลาประเทศไทยจะเท่ากับ UTC+7
เพราะลองจิจูดของไทยตั้งอยู่ที่ประมาณ +100 องศา
พอเราลองเอา 100/15 ~= 6.66667 หรือ +7 ชั่วโมงนั่นเอง

ตัวอย่างการคิดเวลา

สมมติว่า

เวลาที่ กรีนิช ลอนดอน สหราชอาณาจักร หรือ เวลา UTC คือ 12:00 น. (คิดแบบ 24 ชั่วโมง)

เวลาในประเทศไทยซึ่งเป็น UTC+7 (ณ เวลาเดียวกัน) จะเท่ากับ 12:00 น. บวกไปอีก 7 ชั่วโมง ซึ่งก็คือ 19:00 น. นั่นเอง

ข้อยกเว้น

แต่เค้าก็มีข้อยกเว้นนิดนึง ว่า
ไม่ใช่ว่าจะต้องใช้ลองจิจูดกำหนดเขตเวลาตายตัวขนาดนั้น
เพราะแต่ละประเทศในโลกมันมีรูปร่างไม่เหมือนกัน
บางประเทศอาจจะควบเวลาไป 2 - 3 เขตเวลา

ก็เลยเป็นดังรูปด้านล่าง (ที่เส้นเขตเวลาสีแดงมันไม่ตรง) ที่เราจะเห็นว่าบางประเทศเค้าก็ยุบรวมหรือใช้เขตเวลาเดียว แทนการใช้หลายเขตเวลา

หรือบางประเทศเค้าก็มีการกำหนดไปเลยว่ารัฐนี้ เมืองนี้ใช้เขตเวลานี้น่ะ ทั้ง ๆ ที่มันอาจจะไม่ได้อยู่ในลองจิจูดที่กำหนด เพื่อที่คนในประเทศจะได้ไม่สับสนกัน

Image from https://www.wikiwand.com/th/เขตเวลา

การตั้งชื่อเขตเวลา

ทีนี้การที่จะให้คนจำเขตเวลาเป็น UTC-1, UTC+1, UTC+2, UTC+3, .... มันจำยาก

เพื่อความสะดวกสบายมากขึ้น เค้าได้มีการตั้งชื่อเขตเวลาขึ้นมา สำหรับแต่ละประเทศแต่ละเมือง เพื่อให้คนจำได้ง่ายขึ้น

เช่น ประเทศไทย แทนที่เราจะต้องจำเป็น UTC+7 เราก็สามารถจำเป็น Asia/Bangkok แทนได้ ซึ่งก็มีค่าเท่ากับ UTC+7 นั่นเอง

รายชื่อเขตเวลา (Time Zone) ทั้งหมดในโลก

สามารถดูได้จาก

ทำไมต้องเข้าใจเรื่องเขตเวลา

เพราะเรื่องเขตเวลา (Time Zone) เป็นพื้นฐานในการเขียนโปรแกรม และการ Setup ระบบอย่างนึง

ถ้าเราเขียนโปรแกรมถูก แต่ดัน Set เขตเวลา (Time Zone) ไม่ถูก ก็อาจจะทำให้ระบบแสดงผล ประมวลผลเรื่องวัน/เวลาไม่ถูกต้องก็เป็นได้ ซึ่งมันจะเป็นปัญหาเล็ก ๆ ที่ดูจะปวดหัวมาก เมื่อต้องมาตามแก้ไขในภายหลัง

ตัวอย่างการนำไปใช้

อ้างอิง

อื่น ๆ

อ่านเพิ่มเติมได้จาก Comment ด้านล่างครับ

สำหรับเพื่อน ๆ คนไหน ที่ชื่นชอบบทความ และอยากจะสนุนสนันค่ากาแฟเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถคลิกที่ปุ่มนี้เพื่อไปยังหน้า Buy me a coffee ได้ครับ

โฆษณา

iWallet เป็น Bot หรือโปรแกรมอัตโนมัติ ที่เอาไว้ซื้อ/ขาย แลกเปลี่ยนเหรียญ (Digital Token) บน DeFi (Decentralized Finance) โดยใช้ Concept Rebalancing แบบ 50:50

Features
  • รองรับหลาย Wallets
  • รองรับหลาย Networks (ตอนนี้รองรับ BSC, Polygon, Bitkub)
  • รองรับ Token ประเภท ERC-20 ทุกตัว
  • ทำ Rebalancing อัตโนมัติ (50:50)
  • ทำ Manual Reblanacing ได้
  • เติม Gas อัตโนมัติ (ถ้าเห็นว่า Gas ใกล้หมด)
  • PWA (Progressive Web App) สามารถติดตั้งลงบน Desktop และ Mobile ได้
  • รองรับ Two-Factor Authentication (2FA), Google Authenticator
  • ดูประวัติการทำ Rebalancing (Reblancing History)
  • ดูประวัติการโอน (Transfer History)
  • รู้กำไร และขาดทุน โดยดูจากต้นทุนที่โอนเข้า/ออก iWallet (บอกเป็น %)
  • มีหน้าจอสำหรับโอน (Transfer) Token
  • มีแจ้งเตือนทาง LINE (Notification) ถ้า Bot ทำ Rebalance หรือมีการโอนเข้า/ออก iWallet
  • Export ประวัติการทำ Rebalancing ในรูปแบบ Excel
  • อื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาต่อ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://iwallet.jittagornp.me
profile photo
จิตกร พิทักษ์เมธากุล fire fire fire
Software Developer พ่อลูกอ่อน