logo jittagornp.me

สรุปสั้น ๆ เรื่อง Internationalization (i18n) และ Localization (L10n)

Image from https://www.deepin.org/en/developer-community/internationalization/

ความหมาย

i18n และ L10n เป็นเรื่องของการทำให้โปรแกรมที่เราเขียน รองรับ (Support) หลายภาษา หลายรูปแบบการแสดงผล ทั้งตัวเลข ค่าเงิน รูปแบบวันที่/เวลา และอื่น ๆ ตามแต่ละวัฒนธรรม ท้องถิ่น หรือประเทศนั้น ๆ

  • i18n มาจากตัว i (ใช้ตัวเล็ก) แล้วตามด้วยตัวอักษร 18 ตัวก่อนจะถึง n ตัวสุดท้ายของคำว่า (Internationalization)
  • L10n มาจากตัว L (ใช้ตัวใหญ่เพื่อไม่ให้สับสนกับ i ใน i18n) แล้วตามด้วยตัวอักษร 10 ตัวก่อนจะถึง n ตัวสุดท้ายของคำว่า (Localization)

i18n vs L10n

"Internationalization (i18n) is the design and development of a product, application or document content that enables easy localization for target audiences that vary in culture, region, or language."

"Localization (L10n) refers to the adaptation of a product, application or document content to meet the language, cultural and other requirements of a specific target market (a locale)."

สรุปใจความ

  • i18n เป็นเรื่องของการออกแบบและพัฒนาแอพพลิเคชันหรือโปรแกรมให้รองรับหลายภาษา เพื่อให้เหมาะสมกับวัฒนะธรรม และท้องถิ่นนั้น ๆ
  • L10n เป็นเรื่องของการปรับรูปแบบการแสดงผลต่าง ๆ เช่น ตัวเลข ค่าเงิน รูปแบบวันที่/เวลา และอื่น ๆ ให้สอดคล้องกับภาษาและวัฒนธรรม ท้องถิ่นนั้น ๆ

หมายเหตุ

อาจจะไม่ได้แปลตรงตัวเป๊ะ ๆ น่ะ

อ้างอิง

Language Code & Language Tag

ปกติเวลาเราทำเรื่อง i18n และ L10n เรามักที่จะคุ้นเคยกับรูปแบบของ Language Code หรือ Language Tag ประมาณนี้

  • en
  • en-US
  • en-GB
  • en-CA
  • th
  • th-TH
  • zh
  • zh-CN
  • zh-HK

รูปแบบที่ 1

Language Code (ตัวพิมพ์เล็ก 2 ตัว ตามมาตรฐาน ISO 639-1) เช่น

  • en
  • th
  • zh

รูปแบบที่ 2

Language Code (ตัวพิมพ์เล็ก 2 ตัว ตามมาตรฐาน ISO 639-1) จากนั้นขั้นด้วย - แล้วตามด้วย Country (Region) Code

  • en-US - English (United States)
  • en-GB - English (United Kingdom)
  • en-CA - English (Canada)
  • th-TH - Thai (Thailand)
  • zh-CN - Chinese (China)
  • zh-HK - Chinese (Hong Kong)

ซึ่งค่าต่าง ๆ เหล่านี้ คือสิ่งที่ใช้บอกว่า ในตอนนั้น โปรแกรมที่เราเขียน กำลังทำงาน Support กับภาษา และรูปแบบการแสดงผล ตามวัฒนธรรม ท้องถิ่นใด เช่น

ถ้าเรากำหนดให้โปรแกรมเราใช้ Language เป็น

en

หมายความว่า ต้องการให้โปรแกรมเราแสดงผลเป็นภาษาอังฤษ (English) แต่ไม่ได้เจาะจงว่าต้องเป็นภาษาอังกฤษบน Region ใด

แต่ถ้าเรากำหนดให้โปรแกรมเราใช้ Language เป็น

en-US

หมายความว่า ต้องการให้โปรแกรมเราแสดงผลเป็นภาษาอังฤษ (English) สำหรับประเทศสหรัฐอเมริกา (USA)

แล้วมันต่างกันยังไง

  • en เฉย ๆ เราจะเรียกมันว่า Language Code ที่เจาะจงไปเฉพาะเรื่องของภาษาเท่านั้น
  • en-US เราจะเรียกมันว่า Language Tag ที่เจาะจงทั้งภาษาและ Region (Country) เพื่อให้ใช้รูปแบบของภาษาและการแสดงผล อื่น ๆ เช่น ตัวเลข ค่าเงิน รูปแบบวันที่/เวลา และอื่น ๆ ให้เหมาะสมกับวัฒนะธรรม ท้องถิ่น ประเทศนั้น ๆ มากขึ้น

ใช้แบบไหนดี

ถ้าเป็นไปได้ ให้ใช้เป็นแบบ Language Tag แทน Language Code อย่างเดียว เพื่อเป็นการเจาะจงทั้งภาษา และการแสดงผลอื่น ๆ มากขึ้น

ใช้แบบนี้

en-US
en-GB
en-CA

แทน

en

ประเทศไทย

สำหรับประเทศไทย เราใช้ Language Tag เป็น

th-TH

Language Code : th
Country (Region) Code : TH

ข้อควรระวัง

ในการออกแบบระบบให้รองรับหลายภาษา การตั้งชื่อเก็บข้อมูลภาษา เช่น ตัวข้อมูล, Field, Attribute, Column ควรที่จะอ้างอิง หรือใช้ชื่อตาม Standard Language Code หรือ Language Tag ไม่ควรใช้เป็น Country (Region) Code ในการเก็บ เพราะจะนำไป Map หรือใช้งานร่วมกับ Standard Tools ต่าง ๆ ลำบาก

ตัวอย่างที่พบบ่อย เช่น ภาษาจีน
หลายคนมักที่จะตั้งชื่อเก็บเป็น CN ซึ่งมาจาก China ที่เป็น Country (Region) Code

ถ้าเราไปดูการเก็บข้อมูลภาษาจีนจริง ๆ เราจะพบว่าเค้าเก็บเป็น

  • zh มาจาก 中文 (Zhōngwén), 汉语, 漢語 หรือ
  • zh-CN มาจาก Chinese (China)
  • zh-HK มาจาก Chinese (Hong Kong)
  • zh-TW มาจาก Chinese (Taiwan)
  • อื่น ๆ

แทน ตรงนี้ให้ระวัง

บทเรียนตรง

ตอนที่ทีมผมเคยทำงานร่วมกับ Developer จีน เพื่อพัฒนาแอพพลิเคชันนึง (บน WeChat) ทีมผมเก็บภาษาจีนและใช้การอ้างถึงด้วยค่า CN ทีมจีนเค้าบอกว่าภาษาจีนเค้าไม่ได้ใช้ CN แต่เป็น zh เราก็เลยจำมาตั้งแต่ตอนนั้นว่าที่ผ่านมา เราเก็บผิดมาตลอดเลย

อ้างอิง

สำหรับเพื่อน ๆ คนไหน ที่ชื่นชอบบทความ และอยากจะสนุนสนันค่ากาแฟเล็ก ๆ น้อย ๆ สามารถคลิกที่ปุ่มนี้เพื่อไปยังหน้า Buy me a coffee ได้ครับ

โฆษณา

iWallet เป็น Bot หรือโปรแกรมอัตโนมัติ ที่เอาไว้ซื้อ/ขาย แลกเปลี่ยนเหรียญ (Digital Token) บน DeFi (Decentralized Finance) โดยใช้ Concept Rebalancing แบบ 50:50

Features
  • รองรับหลาย Wallets
  • รองรับหลาย Networks (ตอนนี้รองรับ BSC, Polygon, Bitkub)
  • รองรับ Token ประเภท ERC-20 ทุกตัว
  • ทำ Rebalancing อัตโนมัติ (50:50)
  • ทำ Manual Reblanacing ได้
  • เติม Gas อัตโนมัติ (ถ้าเห็นว่า Gas ใกล้หมด)
  • PWA (Progressive Web App) สามารถติดตั้งลงบน Desktop และ Mobile ได้
  • รองรับ Two-Factor Authentication (2FA), Google Authenticator
  • ดูประวัติการทำ Rebalancing (Reblancing History)
  • ดูประวัติการโอน (Transfer History)
  • รู้กำไร และขาดทุน โดยดูจากต้นทุนที่โอนเข้า/ออก iWallet (บอกเป็น %)
  • มีหน้าจอสำหรับโอน (Transfer) Token
  • มีแจ้งเตือนทาง LINE (Notification) ถ้า Bot ทำ Rebalance หรือมีการโอนเข้า/ออก iWallet
  • Export ประวัติการทำ Rebalancing ในรูปแบบ Excel
  • อื่น ๆ ที่กำลังพัฒนาต่อ
อ่านรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ https://iwallet.jittagornp.me
profile photo
จิตกร พิทักษ์เมธากุล fire fire fire
Software Developer พ่อลูกอ่อน